Skip to main content

CH Utility menu

  • ติดต่อเรา
หน้าแรก

CH Main menu

  • สุขอนามัยของเท้าและผิวหนัง
    man in grey tshirt
    • ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคกลาก
      • สาเหตุและการรักษาโรคกลากอย่างมีประสิทธิภาพ
    • รู้จักโรคเชื้อรา
      • โรคเชื้อราที่ข้อพับหรือขาหนีบ
      • การรักษาโรคเชื้อราที่เล็บ
      • เชื้อราแมว
      • ยาทาเชื้อรา โคลไทรมาโซล ใช้อย่างไร? ทาบริเวณใดได้บ้าง?
      • ครีมฆ่าเชื้อรามีสเตียรอยด์ใช้ได้ไหม? ควรใช้อย่างไร?
      • รู้จักโรคเชื้อราจากแมวพร้อมแนะนำครีมยาฆ่าเชื้อราที่ติดจากแมวสู่คน
      • ส่องสรรพคุณไบโฟนาโซล ครีมยาฆ่าเชื้อราบนผิวหนัง
    • โรคน้ำกัดเท้า
      • ฮ่องกงฟุต หรือโรคน้ำกัดเท้า
      • รู้จักโรคน้ำกัดเท้า และการเลือกใช้ยารักษาฮ่องกงฟุต
    • อาการบ่งชี้ของโรคเชื้อราผิวหนัง
    • เชื้อราในร่มผ้า อาการคันที่อวัยวะเพศของผู้ชาย
      • สังคัง
      • ปัญหาโรคผิวหนังของนักกีฬาและการรักษาด้วยยาทาฆ่าเชื้อรา
    • คำถามน่ารู้เกี่ยวกับโรคเชื้อรา FAQ
  • สุขภาพของจุดซ่อนเร้น
    canesten-menu
    • โรคเชื้อราในช่องคลอด
      • การรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ
      • ชวนไปดูอาการเชื้อราในช่องคลอดเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไร
    • ตกขาว อาการ สาเหตุ การรักษา
      • สาเหตุของการตกขาว
      • ลักษณะของการตกขาว
      • การวินิจฉัยการตกขาว และการรักษา
      • การดูแลตนเองเมื่อเป็นตกขาว และการป้องกันตกขาว
      • ตกขาวแบบไหนผิดปกติ ? ตกขาวผิดปกติเกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไร
    • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
      • พฤติกรรมเสี่ยงต่อการ “ติดเชื้อในช่องคลอด” ที่คุณควรเลี่ยง
      • คันช่องคลอด แสบเวลาปัสสาวะ เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ อาการนี้คืออะไร?
      • Bacterial Vaginosis สาเหตุช่องคลอดมีกลิ่นคาวปลา
    • ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ
  • ผลิตภัณฑ์
    • คาเนสเทนครีม ตัวยาโคลไทรมาโซล
    • คาเนสเทน โอ.ดี. ไบโฟนาโซล ครีม
  • สถานที่จัดจำหน่าย
Bayer Cross Logo
  1. หน้าแรก
  2. สุขอนามัยของเท้าและผิวหนัง
  3. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคกลาก

โรคกลากคืออะไร?

โรคกลาก มีสาเหตุจากเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ ซึ่งเป็นเชื้อราก่อโรคที่ผิวหนังได้หลายโรค ทางการแพทย์เรียกโรคกลากว่า Tinea Corporis โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อราที่ผิวหนังชั้นบนสุด1 โดยปกติจะแสดงอาการเป็นผื่นแดงหรือสีเทา ผิวอาจเป็นสะเก็ด แห้ง บวม หรือคัน2

รอยโรคจากการติดเชื้อนี้มีลักษณะเป็นวงกลม1 วงโรคกลากมักจะขยายออกเมื่อโรคลุกลาม ในขณะที่ผิวหนังตรงกลางวงอาจหายและกลับเป็นสีผิวปกติ

โรคกลากสามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย เช่น ขาหนีบ (สังคัง) หรือเท้า (โรคน้ำกัดเท้า) กลากบนใบหน้าหรือหนังศีรษะ ซึ่งอาจทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ2  ได้

โรคกลากและโรคเกลื้อน ต่างกันอย่างไร

โรคเกลื้อน ต่างจากโรคกลาก ตรงที่มีสาเหตุจากเชื้อรากลุ่มมาลาสซีเซีย เฟอร์เฟอร์ ซึ่งสามารถพบได้ตามรูขุมขนและผิวหนังตามธรรมชาติ หากมีความอับชื้นหรือมีเหงื่อออกมาก เชื้อราจะเจริญเติบโตมากขึ้น และส่งผลให้ผิวเกิดรอยโรคและอาการคันได้

ลักษณะของโรคเกลื้อน จะเป็นรอยด่างหรือรอยแต้มสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน วงเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เมื่อเกาจะกลายเป็นขุยเล็ก ๆ สีขาวฟูขึ้นมา 

โรคเกลื้อนสามารถเกิดในบริเวณที่มีต่อมไขมันเยอะ เช่น กลากเกลื้อนที่หลัง หน้า ต้นคอ และหน้าอก

REFERENCES:

  1. What is ringworm?, in https://www.nhs.uk/conditions/ringworm/
  2. Recognizing ringworm symptoms, in: https://www.healthline.com/health/ringworm
  3. Overview,in: https://www.healthline.com/health/how-long-is-ringworm-contagious
  4. Is ringworm contagious?, in: : https://www.healthline.com/health/ringworm
  5. Ibid.
  6. Tinea Corporis, in: Hainer, B.L., Dermatophyte Infections, in: American Family Physician 2003, vol. 67, Number 1, p. 104
  7. Presentation, Tinea Corporis, in: Buttaravoli, op. cit.
  8. Recognizing ringworm symptoms, in: https://www.healthline.com/health/ringworm
  9. Ringworm left untreated, in: https://www.healthline.com/health/ringworm
  10. Tinea Corporis, in: Hainer, B.L., Dermatophyte Infections, in: American Family Physician 2003, vol. 67, Number 1, p. 104-105
  11. See a GP if:, in: https://www.nhs.uk/conditions/ringworm/
  12. Preventing ringworm, in: https://www.healthline.com/health/ringworm
  13. How to stop ringworm spreading, in: https://www.nhs.uk/conditions/ringworm/
ลักษณะอาการของผู้เป็นโรคกลาก

อาการของโรคกลากเกลื้อน

อาการของโรคกลากเกลื้อนในแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ขึ้นกับความรุนแรงของการติดเชื้อ นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับบริเวณที่ติดเชื้อบนร่างกาย คุณควรระวังและควรจะประเมินอาการของโรคกลากเกลื้อนได้อย่างถูกต้อง

คุณอาจเป็นโรคกลาก หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้:

  • ผิวหนังมีวงขอบนูนแดง โดยที่ผิวกลางวงเป็นปกติ
  • ผิวหนังเป็นเกล็ด และคัน
  • ผิวหนังเป็นรอยแดง ขอบของผื่นเป็นเกล็ด(เกิดการอักเสบ)
  • ผิวหนังนูนขึ้นและเป็นตุ่มพอง(เป็นอาการของโรคกลากที่รุนแรงขึ้น)
  • ผิวหนังมีวงหลายวง(มักเกิดเมื่ออาการของโรคกลากรุนแรงขึ้น)
  • เป็นแผลมีหนองอักเสบ(มักเกิดเมื่ออาการของโรคกลากรุนแรงขึ้น)6,7,8

คุณอาจเป็นโรคเกลื้อน หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้:

  • ผิวหนังมีวงเป็นสีขาว ชมพู แดง หรือน้ำตาล ซึ่งจะเป็นสีเข้มหรืออ่อนกว่าผิวหนังปกติ
  • ผิวหนังที่เป็นวงอาจมีวงเดียวหรือหลายวง โดยจะจางลงหรือหายไปเมื่อสภาพอากาศเย็น และอาการอาจแย่ลงหากอากาศร้อนหรือชื้น
  • ผิวหนังที่เป็นวงอาจมีอาการแห้ง ตกสะเก็ด หรือคัน
ครีมทาต้านเชื้อรากลากเกลื้อน

วิธีรักษากลากเกลื้อนให้หายขาด

สำหรับใครที่สงสัยว่าโรคกลากเกลื้อนสามารถหายเองได้ไหม ต้องบอกว่าไม่สามารถหายเองได้ แต่มีวิธีการรักษากลากเกลื้อนให้หายขาด ดังต่อไปนี้

ควรรักษาโรคกลากเกลื้อนโดยเร็วที่สุด เนื่องจากการติดเชื้ออาจทําให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนได้

เรื่องแรก หากไม่ได้รับการรักษา โรคกลากเกลื้อนสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้

เรื่องที่ 2 คุณอาจทําให้ผู้อื่นเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

เรื่องที่ 3 โรคกลากเกลื้อนอาจทําให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ผมร่วง มีแผลเป็น และเล็บผิดรูป9

เนื่องจากโรคกลากเกลื้อนมีสาเหตุจากการติดเชื้อรา การใช้ยาต้านเชื้อราจึงเป็นทางเลือก ของการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งมีให้เลือกใช้ทั้งแบบ ยาทาและยารับประทาน

การใช้ยาทาเฉพาะที่ เช่น ยาครีมฆ่าเชื้อรา เป็นทางเลือกของการรักษากลากเกลื้อนที่สะดวกและรักษาตรงไปที่บริเวณที่เป็น ช่วยให้หายขาดได้ ซึ่งยาครีมทาฆ่าเชื้อรา มีหลายชนิดทั้งแบบที่ทาเพียงวันละ 1 ครั้ง และแบบที่ทาวันละ 2-3 ครั้ง สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป

ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอคําแนะนําก่อนซื้อยา และอ่านฉลากก่อนใช้

  • จําไว้ว่าต้องใช้ยาตามคําแนะนําให้ครบตามเวลาเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ แม้ว่าอาการของคุณจะหายไปและดูเหมือนว่าจะหาย จากโรคแล้วก็ตาม

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?

  • คุณควรไปพบแพทย์หากอาการของโรคกลากไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาต้านเชื้อราเป็นเวลา 7 วัน และควรพิจารณาการไปพบแพทย์ หากคุณมีโรคกลากบนหนังศีรษะหรือใบหน้า หรือหากคุณมีระบบภูมิคุ้มกันตํา่ 11
  • หากคุณกําลังตั้งครรภ์หรือเป็นผู้สูงอายุ ควรขอคําแนะนําจากแพทย์ในการเลือกใช้ยาที่เหมาะสม หรือทางเลือกอื่น ๆ ในการรักษา
ไม่ควรสวมเสื้อเปียกชื้นเพราะจะทำให้เกิดโรคกลากเกลื้อนได้

การป้องกันโรคกลากเกลื้อน

เป็นเรื่องยากที่จะป้องกันการติดเชื้อราโรคกลากเกลื้อน เนื่องจากเชื้อรานี้ มีอยู่ทั่วไปและติดต่อได้ง่าย อย่างไรก็ตาม คุณสามารถลดความเสี่ยง ในการติดเชื้อหรือแพร่กระจายโรคกลากเกลื้อนไปยังผู้อื่นได้ หากคุณรักษาสุขอนามัย และปฏิบัติตัวให้มีสุขภาพที่ดี

ต่อไปนี้คือคําแนะนําที่อาจเป็นประโยชน์

  • ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอโดยเฉพาะหลังจากสัมผัสสัตว์เลี้ยงของคุณ
  • รักษาพื้นที่ที่ใช้บ่อยให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงฆ่าเชื้อและทำความสะอาดบริเวณที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยง
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัส ถู หรือเกาบริเวณที่ติดเชื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว แปรงหวีผม ของผู้อื่น และอย่าให้ผู้อื่นใช้สิ่งของของคุณ หากคุณติดเชื้อกลากเกลื้อน
  • หลีกเลี่ยงการลุยน้ำ หรือสวมใส่เสื้อผ้า รองเท้า ชุดชั้นใน ที่ชุ่มเหงื่อ อับชื้น รัดรูป เป็นเวลานาน และควรสวมรองเท้าแตะเสมอ หากใช้ห้องอาบน้ำส่วนกลาง หรือเดินในพื้นที่สาธารณะ
  • เปลี่ยนชุดชั้นในของคุณทันทีหลังจากว่ายน้ำหรือออกกำลังกาย 12,13
  • หากคุณหรือคนใกล้ชิดเป็นโรคกลากเกลื้อน ควรให้ความรู้แก่พวกเขาเกี่ยวกับความเสี่ยงของการติดโรค อาการที่ต้องระวัง และวิธีเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อ
ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาโรคกลากเกลื้อน

ชี้ชัดโรคกลากและเกลื้อน ต่างกันอย่างไร รักษาหายเองได้ไหม

ชวนทุกคนมาเรียนรู้ว่าโรคกลากเกลื้อนมีความแตกต่างกันอย่างไร สามารถแพร่กระจายได้อย่างไร รวมถึงสาเหตุของการเกิดโรคกลากเกลื้อน และผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากที่สุด พร้อมคำแนะนำว่าโรคกลากเกลื้อน มีวิธีการรักษาและวิธีการป้องกันอย่างไร

โรคกลากคืออะไร?

โรคกลาก มีสาเหตุจากเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ ซึ่งเป็นเชื้อราก่อโรคที่ผิวหนังได้หลายโรค ทางการแพทย์เรียกโรคกลากว่า Tinea Corporis โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อราที่ผิวหนังชั้นบนสุด1 โดยปกติจะแสดงอาการเป็นผื่นแดงหรือสีเทา ผิวอาจเป็นสะเก็ด แห้ง บวม หรือคัน2

รอยโรคจากการติดเชื้อนี้มีลักษณะเป็นวงกลม1 วงโรคกลากมักจะขยายออกเมื่อโรคลุกลาม ในขณะที่ผิวหนังตรงกลางวงอาจหายและกลับเป็นสีผิวปกติ

โรคกลากสามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย เช่น ขาหนีบ (สังคัง) หรือเท้า (โรคน้ำกัดเท้า) กลากบนใบหน้าหรือหนังศีรษะ ซึ่งอาจทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ2  ได้

โรคกลากและโรคเกลื้อน ต่างกันอย่างไร

โรคเกลื้อน ต่างจากโรคกลาก ตรงที่มีสาเหตุจากเชื้อรากลุ่มมาลาสซีเซีย เฟอร์เฟอร์ ซึ่งสามารถพบได้ตามรูขุมขนและผิวหนังตามธรรมชาติ หากมีความอับชื้นหรือมีเหงื่อออกมาก เชื้อราจะเจริญเติบโตมากขึ้น และส่งผลให้ผิวเกิดรอยโรคและอาการคันได้

ลักษณะของโรคเกลื้อน จะเป็นรอยด่างหรือรอยแต้มสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน วงเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เมื่อเกาจะกลายเป็นขุยเล็ก ๆ สีขาวฟูขึ้นมา 

โรคเกลื้อนสามารถเกิดในบริเวณที่มีต่อมไขมันเยอะ เช่น กลากเกลื้อนที่หลัง หน้า ต้นคอ และหน้าอก

โรคกลากเกลื้อนแพร่กระจายได้อย่างไร?

โรคกลากเกลื้อนเป็นโรคติดต่อ ซึ่งคุณสามารถเป็นโรคได้โดยการสัมผัสใกล้ชิดกับวัตถุที่มีเชื้อราที่ก่อโรคนี้ เช่น ผ้าปูที่นอน หวี หรือผ้าขนหนู รวมถึงสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่กำลังติดเชื้อ สัตว์ หรือจากดินที่มีเชื้อ3

โรคกลากเกลื้อนยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ มักพบการแพร่กระจายโรคได้บ่อยในเด็ก และยังอาจเกิดในผู้ที่เลี้ยงแมวและสุนัข เนื่องจากสัตว์สามารถเป็นโรคกลากเกลื้อนได้เช่นกัน และติดต่อไปยังคนได้โดยการสัมผัส4

สัตว์สามารถเป็นกลากเกลื้อนและติดไปยังคนได้

ใครเป็นโรคกลากเกลื้อนได้บ้าง?

หากผิวหนังของคุณเปียกน้ำเป็นเวลานาน จะทำให้เชื้อราโรคกลากเกลื้อนสามารถแทรกเข้าชั้นบนสุดของผิวหนังคุณได้อย่างง่ายดาย รวมทั้งหากคุณมีบาดแผลหรือรอยถลอกเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคกลากเกลื้อนได้

นอกจากนี้ คุณยังมีความเสี่ยงมากขึ้น หากคุณเดินย่ำบริเวณที่มีน้ำขัง ใส่เสื้อผ้า รองเท้า ชุดชั้นในที่อับชื้นจากเหงื่อเป็นเวลานาน เนื่องจากเชื้อราเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่ชื้น และอุ่น ตลอดจนคุณยังอาจเป็นโรคกลากและเกลื้อนได้หากใช้เสื้อผ้าร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ5

Too

อาการของโรคกลากเกลื้อน

คุณอาจเป็นโรคกลากเกลื้อน หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้

>>
Shoe

วิธีรักษากลากเกลื้อนให้หายขาด

ควรรักษาโรคกลากเกลื้อนโดยเร็วที่สุด การใช้ยาต้านเชื้อราเป็นทางเลือก ของการรักษาที่ดีที่สุด

>>
Too

การป้องกันโรคกลากเกลื้อน

ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ ฆ่าเชื้อและทําความสะอาด บริเวณที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยง

>>

Footer Center

  • ผลิตภัณฑ์ของคาเนสเทน
    • สถานที่จัดจำหน่าย
    • ติดต่อเรา

ลิขสิทธิ์©️ 2021 Bayer. ข้อความในเว็บไซต์นี้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ขอสงวนสิทธิ์ในข้อความ รูปภาพ เสียง ซอฟแวร์ และอื่นๆในเว็บไซต์นี้ ห้ามมิให้ดัดแปลงหรือนำไปใช้งานอื่นๆ การนำไปใช้ไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม จะต้องได้รับอนุญาติจากเจ้าของเว็บไซต์

เนื้อหาใช้เฉพาะเว็บไซต์นี้เท่านั้น

ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆท. 281/2564

Footer Bottom

  • แผนผังเว็บไซต์
  • Bayer Global
  • เงื่อนไขการใช้งาน
  • นโยบายรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
  • Imprint
  • L.TH.MKT.03.2021.1932