Skip to main content

CH Utility menu

  • ติดต่อเรา
หน้าแรก

CH Main menu

  • สุขอนามัยของเท้าและผิวหนัง
    man in grey tshirt
    • ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคกลาก
      • สาเหตุและการรักษาโรคกลากอย่างมีประสิทธิภาพ
    • รู้จักโรคเชื้อรา
      • โรคเชื้อราที่ข้อพับหรือขาหนีบ
      • การรักษาโรคเชื้อราที่เล็บ
      • เชื้อราแมว
      • ยาทาเชื้อรา โคลไทรมาโซล ใช้อย่างไร? ทาบริเวณใดได้บ้าง?
      • ครีมฆ่าเชื้อรามีสเตียรอยด์ใช้ได้ไหม? ควรใช้อย่างไร?
      • รู้จักโรคเชื้อราจากแมวพร้อมแนะนำครีมยาฆ่าเชื้อราที่ติดจากแมวสู่คน
      • ส่องสรรพคุณไบโฟนาโซล ครีมยาฆ่าเชื้อราบนผิวหนัง
    • โรคน้ำกัดเท้า
      • ฮ่องกงฟุต หรือโรคน้ำกัดเท้า
      • รู้จักโรคน้ำกัดเท้า และการเลือกใช้ยารักษาฮ่องกงฟุต
    • อาการบ่งชี้ของโรคเชื้อราผิวหนัง
    • เชื้อราในร่มผ้า อาการคันที่อวัยวะเพศของผู้ชาย
      • สังคัง
      • ปัญหาโรคผิวหนังของนักกีฬาและการรักษาด้วยยาทาฆ่าเชื้อรา
    • คำถามน่ารู้เกี่ยวกับโรคเชื้อรา FAQ
  • สุขภาพของจุดซ่อนเร้น
    canesten-menu
    • โรคเชื้อราในช่องคลอด
      • การรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ
      • ชวนไปดูอาการเชื้อราในช่องคลอดเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไร
    • ตกขาว อาการ สาเหตุ การรักษา
      • สาเหตุของการตกขาว
      • ลักษณะของการตกขาว
      • การวินิจฉัยการตกขาว และการรักษา
      • การดูแลตนเองเมื่อเป็นตกขาว และการป้องกันตกขาว
      • ตกขาวแบบไหนผิดปกติ ? ตกขาวผิดปกติเกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไร
    • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
      • พฤติกรรมเสี่ยงต่อการ “ติดเชื้อในช่องคลอด” ที่คุณควรเลี่ยง
      • คันช่องคลอด แสบเวลาปัสสาวะ เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ อาการนี้คืออะไร?
      • Bacterial Vaginosis สาเหตุช่องคลอดมีกลิ่นคาวปลา
    • ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ
  • ผลิตภัณฑ์
    • คาเนสเทนครีม ตัวยาโคลไทรมาโซล
    • คาเนสเทน โอ.ดี. ไบโฟนาโซล ครีม
  • สถานที่จัดจำหน่าย
Bayer Cross Logo
  1. หน้าแรก
  2. สุขอนามัยของเท้าและผิวหนัง
  3. โรคน้ำกัดเท้า
  4. ฮ่องกงฟุต หรือโรคน้ำกัดเท้า (Athlete’s foot)
เชื้อราที่เท้าก่อให้เกิดอาการคัน

สาเหตุน้ำกัดเท้า (Athlete’s foot) และวิธีรักษาเชื้อราที่เท้า

โรคน้ำกัดเท้ามีสาเหตุมาจากอะไร?

สำหรับคนที่มีเหงื่อออกที่เท้ามากแต่ยังใส่รองเท้าคู่เดิมซ้ำ ๆ เป็นประจำ หรือสวมใส่รองเท้าที่มีความอับชื้น รวมถึงมักเดินลุยในพื้นที่น้ำท่วมขังหรือเดินย่ำบนพื้นที่เปียกแฉะอยู่ตลอดเวลาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งยังอาบน้ำหรือว่ายน้ำเสร็จแล้วไม่ยอมเช็ดเท้าให้แห้งสนิท พฤติกรรมเหล่านี้ จะส่งผลให้เชื้อรา Dermatophytes ที่เท้าเจริญเติบโตมากขึ้น จนนำไปสู่การติดเชื้อรา และเป็นโรคน้ำกัดเท้าหรือฮ่องกงฟุตได้

นอกจากนี้ ยังสามารถติดเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคน้ำกัดเท้าได้จากการใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น รองเท้า ถุงเท้า ผ้าเช็ดตัว โดยเชื้อราชนิดนี้ ยังแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้อีกด้วย

ลักษณะและอาการของโรคน้ำกัดเท้า

ปกติแล้วอาการของโรคน้ำกัดเท้า มักเกิดขึ้นบริเวณง่ามนิ้วเท้า โดยจะมีลักษณะเปื่อย แดง และลอก ซึ่งการติดเชื้อราที่เท้าจะส่งผลให้เกิดอาการคันและระคายเคือง หากเกาจะเกิดแผล และส่งผลให้เกิดการอักเสบตามมา

หากเกิดการติดเชื้อ จะทำให้เกิดอาการแสบร้อน ปวด เป็นแผลหนอง ผิวแห้งเป็นขุย และผิวที่เท้าลอกออกเป็นขุย ทั้งยังส่งกลิ่นเหม็นตามซอกนิ้วเท้าอีกด้วย

โรคเชื้อราที่เท้าต้องดูแลรักษาอย่างไร

โรคเชื้อราที่เท้าหรือน้ำกัดเท้า ที่ก่อให้เกิดอาการคัน สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ครีมสำหรับรักษาโรคเชื้อราผิวหนังที่มีตัวยาโคลไทรมาโซลและไบโฟนาโซล เป็นต้น ซึ่งหาซื้อยาได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยควรทายาตามคำแนะนำของเอกสารกำกับยา และควรทาต่อเนื่อง 3-4 สัปดาห์ ถึงแม้ว่าอาการเหมือนจะหายแล้วก็ตาม แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรงมากขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์

นอกจากนั้นยังมีวิธีรักษาเชื้อราที่เท้าและดูแลเมื่อติดเชื้อรา ดังนี้

  • ทายาต้านเชื้อราสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร
  • รักษาความสะอาด โดยการล้างเท้าด้วยสบู่อ่อน และเช็ดแผลให้แห้ง
  • พยายามทำให้เท้าไม่อับชื้น เช่น โรยแป้ง
  • ไม่ควรสวมรองเท้าหุ้มมิดชิดหรือใส่ถุงเท้าตลอดเวลา
  • ไม่ใส่ถุงเท้าซ้ำ และซักทุกครั้ง
  • เปลี่ยนไปใช้รองเท้าคู่ใหม่ที่แห้งและสะอาด

วิธีป้องกันความเสี่ยงจากการเกิดน้ำกัดเท้า

  • เช็ดเท้าให้แห้งสนิททุกครั้งหลังอาบน้ำ หรือขึ้นมาจากสระว่ายน้ำ
  • เลี่ยงการเดินย่ำไปในพื้นที่ที่มีน้ำสกปรกขัง หรือล้างเท้าให้สะอาดทุกครั้งที่โดนน้ำสกปรก
  • ไม่เดินเท้าเปล่าในพื้นที่เสี่ยงมีน้ำขังหรือมีน้ำสกปรก
  • ไม่สวมใส่รองเท้าที่อับชื้น หรือใส่รองเท้าคู่เดิมซ้ำทุกวัน
  • ทำความสะอาดพื้นที่ในบ้านเป็นประจำโดยเฉพาะห้องน้ำ

เอกสารอ้างอิง

  • https://www.healthline.com/health/athletes-foot
  • https://www.bumrungrad.com/en/conditions/foot-fungus
  • https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/understanding-athletes-foot-symptoms
  • https://kidshealth.org/en/teens/athletes-foot.html
  • https://dermnetnz.org/topics/athletes-foot
  • https://www.moph.go.th/index.php/news/read/717
  • https://www.synphaet.co.th/โรคน้ำกัดเท้า
  • https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/infographic/detail/73/1963
  • https://www.thaihealth.or.th
  • http://pca.fda.moph.go.th/public_media_detail.php?id=6&cat=73&content_id=1963
  • https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Athlete_Foot
  • https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=926
  • https://www.siamfootcare.com/2017/05/วิธีป้องกันและรักษาโรค
  • https://www.pobpad.com/เชื้อราที่เท้า
  • https://www.siamhealth.net/public_html/Health/Photo_teaching/t_pedis.html
  • http://www.skinhospital.co.th/article/info/5/135

Footer Center

  • ผลิตภัณฑ์ของคาเนสเทน
    • สถานที่จัดจำหน่าย
    • ติดต่อเรา

ลิขสิทธิ์©️ 2021 Bayer. ข้อความในเว็บไซต์นี้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ขอสงวนสิทธิ์ในข้อความ รูปภาพ เสียง ซอฟแวร์ และอื่นๆในเว็บไซต์นี้ ห้ามมิให้ดัดแปลงหรือนำไปใช้งานอื่นๆ การนำไปใช้ไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม จะต้องได้รับอนุญาติจากเจ้าของเว็บไซต์

เนื้อหาใช้เฉพาะเว็บไซต์นี้เท่านั้น

ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆท. 281/2564

Footer Bottom

  • แผนผังเว็บไซต์
  • Bayer Global
  • เงื่อนไขการใช้งาน
  • นโยบายรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
  • Imprint
  • L.TH.MKT.03.2021.1932