Skip to main content

CH Utility menu

  • ติดต่อเรา
หน้าแรก

CH Main menu

  • สุขอนามัยของเท้าและผิวหนัง
    man in grey tshirt
    • ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคกลาก
      • สาเหตุและการรักษาโรคกลากอย่างมีประสิทธิภาพ
    • รู้จักโรคเชื้อรา
      • โรคเชื้อราที่ข้อพับหรือขาหนีบ
      • การรักษาโรคเชื้อราที่เล็บ
      • เชื้อราแมว
      • ยาทาเชื้อรา โคลไทรมาโซล ใช้อย่างไร? ทาบริเวณใดได้บ้าง?
      • ครีมฆ่าเชื้อรามีสเตียรอยด์ใช้ได้ไหม? ควรใช้อย่างไร?
      • รู้จักโรคเชื้อราจากแมวพร้อมแนะนำครีมยาฆ่าเชื้อราที่ติดจากแมวสู่คน
      • ส่องสรรพคุณไบโฟนาโซล ครีมยาฆ่าเชื้อราบนผิวหนัง
    • โรคน้ำกัดเท้า
      • ฮ่องกงฟุต หรือโรคน้ำกัดเท้า
      • รู้จักโรคน้ำกัดเท้า และการเลือกใช้ยารักษาฮ่องกงฟุต
    • อาการบ่งชี้ของโรคเชื้อราผิวหนัง
    • เชื้อราในร่มผ้า อาการคันที่อวัยวะเพศของผู้ชาย
      • สังคัง
      • ปัญหาโรคผิวหนังของนักกีฬาและการรักษาด้วยยาทาฆ่าเชื้อรา
    • คำถามน่ารู้เกี่ยวกับโรคเชื้อรา FAQ
  • สุขภาพของจุดซ่อนเร้น
    canesten-menu
    • โรคเชื้อราในช่องคลอด
      • การรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ
      • ชวนไปดูอาการเชื้อราในช่องคลอดเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไร
    • ตกขาว อาการ สาเหตุ การรักษา
      • สาเหตุของการตกขาว
      • ลักษณะของการตกขาว
      • การวินิจฉัยการตกขาว และการรักษา
      • การดูแลตนเองเมื่อเป็นตกขาว และการป้องกันตกขาว
      • ตกขาวแบบไหนผิดปกติ ? ตกขาวผิดปกติเกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไร
    • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
      • พฤติกรรมเสี่ยงต่อการ “ติดเชื้อในช่องคลอด” ที่คุณควรเลี่ยง
      • คันช่องคลอด แสบเวลาปัสสาวะ เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ อาการนี้คืออะไร?
      • Bacterial Vaginosis สาเหตุช่องคลอดมีกลิ่นคาวปลา
    • ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ
  • ผลิตภัณฑ์
    • คาเนสเทนครีม ตัวยาโคลไทรมาโซล
    • คาเนสเทน โอ.ดี. ไบโฟนาโซล ครีม
  • สถานที่จัดจำหน่าย
Bayer Cross Logo
  1. หน้าแรก
  2. สุขภาพของจุดซ่อนเร้น
  3. ตกขาว อาการ สาเหตุ การรักษา
  4. การวินิจฉัยการตกขาว และการรักษา

การวินิจฉัยและการรักษาตกขาว

การวินิจฉัยตกขาว

หากพบว่ามีตกขาวที่ผิดปกติ คุณควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสาเหตุและรับการรักษา โดยเบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติสุขภาพ การเจ็บป่วยที่ผ่านมาหรือที่เป็นอยู่ การรักษา การใช้ยา ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ และอาการของตกขาวที่พบ เช่น สีและกลิ่นของตกขาว อาการที่เกิดขึ้นร่วมด้วย และช่วงเวลาที่เริ่มมีตกขาวที่ผิดปกติ (ไม่ควรไปตรวจในช่วงที่มีประจำเดือน และผู้ป่วยห้ามทำความสะอาดหรือใช้สเปรย์พ่นช่องคลอดก่อนเข้ารับการตรวจ เพราะอาจไปดับกลิ่นที่ช่วยในการวินิจฉัยและอาจเกิดการระคายเคืองตามมาได้)

หากพบสัญญาณความผิดปกติ แพทย์จะทำการตรวจภายในเพื่อตรวจสอบอวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกรานและหาสัญญาณของการติดเชื้อภายใน, ตรวจตกขาว โดยนำตัวอย่างของตกขาวที่เก็บได้ภายในช่องคลอดออกมาตรวจโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ และตรวจวัดค่า pH เพื่อตรวจสอบความเป็นกรดภายในช่องคลอด (ค่า pH 4.5 หรือมากกว่า) เป็นต้น

วิธีการรักษาตกขาว

สำหรับตกขาวปกติ (ตกขาวธรรมดา) ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาแต่อย่างใด เพียงแต่ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามสุขอนามัยก็เพียงพอแล้ว แต่หากเป็นตกขาวที่ผิดปกติ หรือตกขาวที่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย หรือสงสัยว่าอาจมีสาเหตุที่ผิดปกติเกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือสูตินรีแพทย์เพื่อทำการตรวจภายในช่องคลอดและให้การรักษาไปตามสาเหตุที่ตรวจพบ

ซึ่งการรักษาตกขาวผิดปกตินั้นจะต้องรักษาที่สาเหตุและโรคที่ป่วยร่วมด้วย (ถ้ามี) ทั้งการรักษาด้วยยาเฉพาะทางหรือการผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการป่วยและความรุนแรงของโรค แต่โดยทั่วไปตกขาวผิดปกติมักจะเกิดจากการติดเชื้อประเภทแบคทีเรียหรือเชื้อราในช่องคลอด ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรับประทานยา ใช้ครีม/เจลทาในช่องคลอด หรือใช้ยาเหน็บช่องคลอด ดังนี้

  1. ตกขาวจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial vaginosis) เป็นอาการที่สามารถหายไปได้เอง หากผู้ป่วยไม่มีอาการใด ๆ ที่เป็นปัญหาและไม่ได้ตั้งครรภ์ก็อาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษา ส่วนในรายที่มีอาการ ส่วนใหญ่แพทย์จะให้การรักษาด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) ดังนี้
    • รับประทานยาเมโทรนิดาโซลครั้งละ 2,000 มิลลิกรัม เพียงครั้งเดียว (หรือ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5-7 วัน) ส่วนในรายที่แพ้ยาเมโทรนิดาโซลหรือดื้อยา อาจให้รับประทานยาคลินดามัยซิน (Clindamycin)
    • ในบางครั้งแพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยการให้ใช้ยาทาเฉพาะที่แทนยารับประทาน เช่น เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) 500 มิลลิกรัม, เจลเมโทรนิดาโซล (Metronidazole gel) 0.75 %, ครีมคลินดามัยซิน (Clindamycin cream) 2 %
  2. ตกขาวจากเชื้อทริโคโมแนส (Trichomonas vaginalis) เป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะโดยเร็วที่สุด เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ซึ่งการรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) เช่นเดียวกับการรักษาอาการตกขาวจากเชื้อแบคทีเรีย ดังนี้
    • รับประทานยาเมโทรนิดาโซลครั้งละ 2,000 มิลลิกรัม เพียงครั้งเดียว (หรือ 500/400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5-7 วัน หรือ 200 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน)
    • ในรายที่แพ้ยาเมโทรนิดาโซล อาจให้ใช้เป็นยาทาโคลไตรมาโซล (Topical clotrimazole) แทนโดยการสอดทางช่องคลอด นาน 6 วัน
  3. ตกขาวจากเชื้อรา (Candida albicans) การรักษาการติดเชื้อราในช่องคลอด โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะพิจารณาให้ใช้ยาเหน็บช่องคลอดโคลไตรมาโซล (Clotrimazole vaginal tablets) เพื่อยับยั้งทำลายเชื้อราและกระบวนการสร้างเซลล์ของเชื้อรา ซึ่งยานี้จะมีทั้งขนาด 100 และ 500 มิลลิกรัม (หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ แต่หากใช้แล้วไม่หายหรืออาการยังไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา)
    • สำหรับยาเหน็บโคลไตรมาโซลขนาด 100 มิลลิกรัม : ก่อนนอนให้สอดเม็ดยาครั้งละ 1 เม็ด เป็นเวลา 6 คืนติดต่อกัน (หรือสอดครั้งละ 2 เม็ด 3 คืนติดต่อกัน)
    • สำหรับยาเหน็บโคลไตรมาโซลขนาด 500 มิลลิกรัม : ก่อนนอนให้สอดเม็ดยา 1 เม็ด เพียงครั้งเดียวก็เพียงพอต่อการรักษา (บางรายอาจต้องสอดยาซ้ำอีก 1 เม็ด หลังจากสอดเม็ดแรก 1 สัปดาห์)
    • ในบางครั้งแพทย์อาจพิจารณาให้ใช้ยาชนิดครีมทาในช่องคลอดร่วมด้วย เช่น ครีมโคลไตรมาโซล (Clotrimazole cream) 1% หรือพิจารณาให้ใช้ยาแบบรับประทาน เช่น ฟลูโคนาโซล (Fluconazole)
    • ปัจจุบันมียาเหน็บช่องคลอดโคลไตรมาโซลที่เป็นสูตรผสมกรดแลคติกและน้ำตาลแลคโตสที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้กว้าง ทั้งเชื้อรา เชื้อทริโคโมแนส และเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด (กรดแลคติคจะช่วยคงค่าความเป็นกรดตามธรรมชาติของช่องคลอดซึ่งไม่เหมาะกับการเติบโตของเชื้อโรค ส่วนน้ำตาลแลคโตสจะช่วยในการเติบโตของแลคโตแบซิลลัสซึ่งเป็นเชื้อในธรรมชาติที่ปกคลุมช่องคลอดอยู่ จึงช่วยป้องกันการเกาะของเชื้อโรคอื่น ๆ ที่ผนังช่องคลอดได้)
  4. คำเตือน : การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อทริโคโมแนสควรอยู่ภายใต้การดูแลและคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะเมื่อคุณกำลังตั้งครรภ์หรือใช้ต้องใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และขนาดยาที่แนะนำให้ใช้ตามวิธีการรักษาด้านบนเป็นเพียงขนาดยาที่ใช้โดยทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น*

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เอกสารอ้างอิง

  • หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. “ตกขาวธรรมดา”. (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ). หน้า 879.

  • คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. “ตกขาวปกติ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th. [11 ก.ค. 2016].

  • ภาควิชาสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. “เชื้อรา...ปัญหาของตกขาวคันในสตรี”. (รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th. [11 ก.ค. 2016].

  • ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “ภาวะตกขาว (Vaginal Discharge)”. (นพ.ชัยเลิศ พงษ์นริศร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.medicine.cmu.ac.th. [11 ก.ค. 2016].

  • หาหมอดอทคอม. “ตกขาว (Leucorrhea)”. (นพ.ธีรยุทธ เต็มธนะกิจไพศาล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : haamor.com. [11 ก.ค. 2016].

  • Siamhealth. “ตกขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.siamhealth.net. [11 ก.ค. 2016].

  • สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. “การอักเสบและโรคติดเชื้อที่อวัยวะสืบพันธุ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : kanchanapisek.or.th/kp6/. [12 ก.ค. 2016].

  • ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ. “ตกขาวที่เกิดจากเชื้อรา”. (นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.bangkokhealth.com. [12 ก.ค. 2016].

  • พบแพทย์. “ตกขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :pobpad.com. [14 ก.พ. 2021].

L.TH.MKT.03.2021.1920

Footer Center

  • ผลิตภัณฑ์ของคาเนสเทน
    • สถานที่จัดจำหน่าย
    • ติดต่อเรา

ลิขสิทธิ์©️ 2021 Bayer. ข้อความในเว็บไซต์นี้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ขอสงวนสิทธิ์ในข้อความ รูปภาพ เสียง ซอฟแวร์ และอื่นๆในเว็บไซต์นี้ ห้ามมิให้ดัดแปลงหรือนำไปใช้งานอื่นๆ การนำไปใช้ไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม จะต้องได้รับอนุญาติจากเจ้าของเว็บไซต์

เนื้อหาใช้เฉพาะเว็บไซต์นี้เท่านั้น

ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆท. 281/2564

Footer Bottom

  • แผนผังเว็บไซต์
  • Bayer Global
  • เงื่อนไขการใช้งาน
  • นโยบายรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
  • Imprint
  • L.TH.MKT.03.2021.1932